เมืองเชียงใหม่
นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาเมือง
Urban / History
เมืองและประวัติศาสตร์เมืองควรค่าม้า
People
ผู้คนและชุมชนควรค่าม้า
Place
สถาปัตยกรรมพื้นที่ควรค่าม้า
พื้นที่

ควรค่าม้า

สถาปัตยกรรมพื้นที่ควรค่าม้า

Place (สถานที่) คือ องค์ประกอบของเมืองแห่งการเรียนรู้สำคัญ เป็นพื้นที่ที่มีความหมายทั้งทางสังคม และประโยชน์ใช้สอยร่วมกันของคนในชุมชน สถานที่ทำให้เมืองยังคงมีพื้นที่ที่ชีวิตและกลายเป็นองค์ประกอบชุมชนที่สำคัญ

สถาปัตยกรรมพื้นที่ควรค่าม้า

กลุ่มอาคารไม้เก่า ที่ปรากฏการวางเรือนแบบดั้งเดิมคือ วางกลุ่มบ้านให้เกิดลานบ้านร่วมกัน จากการวางบ้านที่ล้อมรอบกัน ผ่านการสร้างหุ่นจำลองสามมิติเพื่ออธิบายกลุ่มบ้านในอดีต

องค์ประกอบเมืองสำคัญ

กลุ่มบ้านไม้เก่า
กลุ่มบ้านไม้ คือ รูปแบบความสัมพันธ์ของชุมชนในระดับที่พักอาศัย ในอดีตครอบครัวการสร้างบ้านของรูปแบบครอบครัวขยาย จะเป็นการปลูกบ้านร่วมกันบนพื้นที่ละแวกบ้าน ทำให้เกิดลานบ้านร่วมกัน อัตลักษณ์ของชุมชนแบบนี้คือความเป็นพื้นถิ่นเมืองในอดีต จากการจัดสรรที่ดินและรูปแบบกรรมสิทธิ์รูปแบบใหม่ ทำให้เกิดการแบ่งขอบเขตที่ดินและอสังหาริมทรัพย์จนทำให้เกิด การแบ่งที่ดินและสร้างรั้วกำแพง ทำให้ชุมชนเมืองที่เป็นการรวมกันของกลุ่มบ้าน ที่หมายถึงครอบครัวหลายตระกูล ถูกแบ่งให้เกิดการจัดสรรทั้งการขาย การเช่า ทำให้ความสัมพันธ์ของชุมชนและรูปแบบของกิจกรรมทางสังคมเปลี่ยนไป เมืองเชียงใหม่ถูกพัฒนาให้กลายเป็นเมืองเศรษฐกิจและมุมเน้นรายได้จากการท่องเที่ยว ในการศึกษาลงพื้นที่ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีพบว่า การเปลี่ยนย้ายผู้คน ทำให้เกิดการใช้งานกลุ่มบ้านไม้ในรูปแบบร่วมสมัยมากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้

บ้านเช่าของแรงงานไทใหญ่บนถนนศรีภูมิซอย 6
กลุ่มบ้านไม้กับแรงงานชาติพันธุ์

การเป็นเมืองเศรษฐกิจทำให้เกิดการย้ายเข้ามาของกลุ่มแรงงานชาติพันธุ์และต่างชาติ ทำให้พื้นที่ละแวกบ้านนี้ปรับเปลี่ยนกลุ่มบ้านไม้เก่าให้กลายเป็นกลุ่มบ้านเช่าที่แบ่งห้องพักแต่ละหลังเพื่อการดำเนินธุรกิจเช่าที่พัก ทำให้กลุ่มบ้านไม้เหล่านี้ถูกปรับใช้เพื่อกลุ่มคนใหม่ และเกิดสังคมของพี่น้องชาวชาติพันธุ์ต่างๆ อาทิ ไทใหญ่ และชาวเมียนมาเป็นต้น

บ้านเส้น บ้านไม้กึ่งปูนบนถนนศรีภูมิซอย 7ก

บ้านเส้น เป็นตัวอย่างของการปรับปรุงอาคารบ้านไม้เก่าอย่างน่าสนใจ คือการปรับให้บ้านไม้เป็นอาคารที่พักห้องเดี่ยวให้เช่า และยังเปิดร้านขนมจีนเพื่อเป็นธุรกิจให้คนในชุมชนได้เข้ามารับประทานด้วย อีกไปกว่านั้นพื้นที่ลานบ้านยังถูกปรับให้จัดกิจกรรมของชุมชนต่างๆ อาทิ ลานกิจกรรมเวิร์คชอปศิลปะ ลานตลาดนัดในช่วงกิ๋นหอมตอมม่วน Art fest อีกด้วย

กลุ่มบ้านไม้ วันนา บนถนนศรีภูมิซอย 6

ธุรกิจท่องเที่ยวทำให้กลุ่มบ้านไม้ชุดนี้ ปรับไปสู่การเปิดธุรกิจห้องพักรายวัน โดยการสร้างธีมกลุ่มบ้านไม้เดี่ยวที่ถอดลักษณะของกลุ่มบ้านเดิมมาใช้ ทำให้กลุ่มบ้านไม้เก่ายังถูกรักษา ท่ามกลางการดำเนินกิจการที่พัก และตกแต่งลานบ้านให้เป็นสวนที่เกิดความร่มรื่นด้วยพรรณไม้ต่างๆ

กลุ่มบ้านไม้ อะคลูสติก บนถนนสิงหราชซอย 4

กลุ่มบ้านไม้ชุดนี้ มีผังบริเวณที่น่าสนใจ เพราะมีสระอยู่กลางพื้นที่ ทำให้เห็นว่าในอดีตมีการผันน้ำจากคูเมืองมาใช้ในชุมชนในเขตกำแพงเมืองเก่า ความน่าสนใจของชุดบ้านไม้นี้คือ การผสมผสานพื้นที่พักอาศัยกับกิจการโรงเรียนสอนดนตรีเข้าด้วยกันอย่างลงตัว อาคารแต่ละหลังถูกปรับให้เป็น บ้านพัก และห้องซ้อมดนตรีที่มีการตกแต่งภูมิทัศน์ล้อไปกับที่ว่างระหว่างอาคารอย่างร่มรื่น

อัตลักษณ์ร่วมสมัยของย่านควรค่าม้าสามัคคี

“รั้วศิลปะ” บนถนนศรีภูมิซอย7 ซอย7ก ซอย6 และสิงหราชซอย 4 จากการประกอบกิจกรรมกิ๋นหอมต๋อมม่วนตั้งแต่พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา ทำให้พื้นที่กิจกรรมเกิดเป็นถนนกิจกรรม เป็นพื้นที่ที่เกิดความหมายร่วมกันบนถนนศรีภูมิซอย 7 เส้นนี้ เกิดการเชื่อมโยงชุมชนหัววัดควรค่าม้าและหม้อคำตวง ทำให้เกิดโครงข่ายการใช้พื้นที่ที่หลากหลาย การเกิดรั้วบ้านที่เป็นตัวแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดิน