ป่าห้านิมมาน
การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม
Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ
จากข้อมูลทางวรรณกรรมและคำบอกเล่าของคนในชุมชนพบว่า พื้นที่บริเวณแต่ก่อนคือพื้นที่เกษตรกรรมของเมือง ซึ่งเป็นทุ่งนาและแปลงเกษตรกรรมของชาวบ้านที่ได้มาจับจองที่ดิจการทำเกษตรกรรม ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้มีการระบบน้ำจากการวางระบบห้วยจากดอยสุเทพ ทำให้เกิดการผันน้ำมาใช้จากลำห้วยแก้ว และลำเหมืองแปลงเกษตร โดยมีต้นกม้ที่เรียกว่าต้นห้า เป็นต้นไม้ใหญ่ที่เติบโตขึ้น ตามแนวลำห้วยในชุมชนนี้ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อชุมขน
ป่าห้านิมมาน
การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม
Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ
จากข้อมูลทางวรรณกรรมและคำบอกเล่าของคนในชุมชนพบว่า พื้นที่บริเวณแต่ก่อนคือพื้นที่เกษตรกรรมของเมือง ซึ่งเป็นทุ่งนาและแปลงเกษตรกรรมของชาวบ้านที่ได้มาจับจองที่ดิจการทำเกษตรกรรม ซึ่งพื้นที่บริเวณนี้มีการระบบน้ำจากการวางระบบห้วยจากดอยสุเทพ ทำให้เกิดการผันน้ำมาใช้จากลำห้วยแก้ว และลำเหมืองแปลงเกษตร โดยมีต้นกม้ที่เรียกว่าต้นห้า เป็นต้นไม้ใหญ่ที่เติบโตขึ้น ตามแนวลำห้วยในชุมชนนี้ จึงกลายเป็นที่มาของชื่อชุมขน
36
การขยายตัวของเมืองจากการสร้างวงแหวนเมืองรอบที่ 1 ถนนเชียงใหม่ลำปาง ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ การจัดสรรที่ดินในบริเวณถนนนิมมานเหมินท์ การลงทุนคอนโดมิเนียม และเกิดห้างสรรพสินค้าใกล้เคียง
48
การเติบโตของธุรกิจเพื่อการพักผ่อนและความบันเทิงของคนเมืองใหม่ ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของย่านร้านกาแฟซอย 9 ร้านอาหาร ที่พักผ่อนคนเมือง สถานบันเทิง ทั่วนิมมานซอยคี่มากมาย และเกิดการเพิ่มขึ้นของราคาเช่าและราคาขายที่ดิน
78
ชุมชนการทำการเกษตรกรรม เป็นแปลงเกษตรที่มีทุ่งนาและการเพาะปลูก โดยมีชุมชนพื้นถิ่นมาเกาะกลุ่มกันอยู่ในบริเวณเลียบทางถนนห้วยแก้ว และเชื่อมต่อไปลำห้วยแก้ว กับแปลงเกษตรกรรม ทำให้ตัวชุมขนดั้งเดิมมีความเป็นกลุ่มบ้านที่เกาะเกี่ยวกันตามทางเกวียนการทำงานเกษตรกรรม
07
เกิดการพัฒนาในฝั่งตะวันตกของเมืองเก่า ตั้งแต่เกิดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำให้เกิดการพัฒนาระบบสาธารณุปโภคมากมายทั้ง ระบบไฟฟ้า ระบบชลประทาน ทำให้การใช้น้ำถูกปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบประปา และเกิดการย้ายถิ่นฐานของผู้คนในละแวกนี้มากขึ้น
28
ต่อมา พื้นที่ถูกพัฒนาเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การที่พักอาศัยของคนเมือง หมู่บ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว ของชนชั้นกลางในเมืองเชียงใหม่ จึงได้แบ่งพื้นที่และทำให้เกิดการจัดสรรที่ดินรูปสมัยใหม่มากมาย
36
การขยายตัวของเมืองจากการสร้างวงแหวนเมืองรอบที่ 1 ถนนเชียงใหม่ลำปาง ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ การจัดสรรที่ดินในบริเวณถนนนิมมานเหมินท์ การลงทุนคอนโดมิเนียม และเกิดห้างสรรพสินค้าใกล้เคียง
42
การเปลี่ยนย้ายของผู้คนในพื้นที่นี้ ทำให้เกิดกลุ่มคนใหม่ที่มาพำนักในย่านคือ อาจารย์ ศิลปิน และนักออกแบบ ที่มาอาศัยในย่านและชุมชนนี้ ทำให้พื้นที่นิมมานเหมินท์ เกิดการปรับบ้านพักอาศัยในช่วงพ.ศ. 2528 ไปสู่การเป็นที่ตั้งของสตูดิโอ ร้านค้าขนาดเล็ก และการทำงานศิลปะของกลุ่มนิมมานซอย 1 และ 17
48
การเติบโตของธุรกิจเพื่อการพักผ่อนและความบันเทิงของคนเมืองใหม่ ทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของย่านร้านกาแฟซอย 9 ร้านอาหาร ที่พักผ่อนคนเมือง สถานบันเทิง ทั่วนิมมานซอยคี่มากมาย และเกิดการเพิ่มขึ้นของราคาเช่าและราคาขายที่ดิน
56
การเปลี่ยนย้ายของผู้คนไม่ใช่แค่ในจังหวัดและประเทศ พื้นที่ป่าห้าและนิมมานเหมินท์กลายเป็นย่านเศรษฐกิจสำคัญของเมือง ย่านท่องเที่ยว และธุรกิจจีน ทำให้เกิดชุมชนดิจิทัลโนแมด และการลงทุนของธุรกิจชาวจีนมากขึ้น
Urban Vernacular
ชุมชนป่าห้า-นิมมาน
เป็นชุมชนที่พักอาศัยที่มีสิ่งแวดล้อมสร้าง (Built environment) ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมและชุมชน โดยมีจุดประสงค์ในการออกแบบสิ่งแวดล้อมเมืองเหล่านี้เพื่อจัดการสาธารณะประโยชน์ของชุมชนตามยุคสมัย
ในอดีตชุมชนป่าห้า
เชื่อมโยงความเป็นชุมชนที่เน้นสังคมเกษตรกรรม กลุ่มชุมชนและพื้นที่เกษตรกรรมเชื่อมโดยด้วยซอกซอยทางเกวียน ด้วยการจัดสรรสาธารณะประโยชน์ของชุมชนผ่านระบบน้ำ ทำให้เกิดทางน้ำจากแหล่งธรรมชาติจากฝั่งริมดอยสุเทพเพื่อไหลมาใช้ในชุมชน จนเกิดสันเหมืองและลำห้วยที่ไหลมาเพื่อสนองการใช้ชีวิตของคนในชุมชน ทำให้เกิดระบบบ่อน้ำที่แบ่งปันในกลุ่มบ้าน บ่อน้ำกลางชุมชนป่าห้าที่อยู่บน 3 แยกจากถนนห้วยแก้วซอย 2 ที่เป็นพื้นที่กลางของชุมชนเก่า ทั้งการเป็นตลาดชุมชน และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยแนวต้นไม้ต้นห้าตามแนวภูมิทัศน์ชุมชนบนถนนห้วยแก้วซอย 2 ทำให้ชุมชนนี้ถูกเรียกตามสิ่งแวดล้อมเป็นชุมชนป้าห้า แต่ตัวการพัฒนาเมืองสมัยใหม่ทำให้เกิดการจัดสรรเมือง ด้วยภูมิทัศน์เมืองใหม่คือ ถนนนิมมานเหมินท์ และแบ่งระบบซอยเลขคู่มาทางฝั่งตะวันออกของชุมชน ทำให้ชุมชนฝั่งตะวันออกเกิดระบบถนนเส้นตรง การแบ่งโฉนดที่ดินด้วยระบบตาราง และการแบ่งพื้นที่ให้เป็นรูปทรงเรขาคณิต ทำให้ระบบเมืองใหม่แพร่เข้ามาทางฝั่งตะวันออกของชุมชนป่าห้า เกิดเป็นหมู่บ้านจัดสรรใหม่ หอพัก ตึกแถว คอนโดมิเนียม ที่ทำให้เกิดผู้พักอาศัยใหม่ ที่เป็นคนใหม่ๆเข้ามาอยู่ร่วมกับชุมชนเก่า การพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในพ.ศ. 2547-2553 ทำให้ถนนนิมมานเหมินท์กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของเมือง
ย่านนิมมาน
จากพื้นที่เมืองที่ถูกจัดสรรด้วยแนวคิดสมัยใหม่ การแบ่งพื้นที่ด้วยระบบกริดเพื่อการจัดสรรพื้นที่ขาย หมู่บ้านจัดสรร บ้านเดี่ยวและกลุ่มตึกแถว ทำให้พื้นที่เมืองผื่นนี้มีคุณลักษณะละแวกบ้านและการจัดสรรที่ดินแตกต่างจากย่านต่างๆ ของเมืองเชียงใหม่ในอดีต จากการเปลี่ยนย้ายของผู้คน ทำให้ย่านนิมมานเปลี่ยนรูปแบบทางสังคมและการใช้งาน ไปสู่การออกแบบอาคารและเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยดังนี้
Civil Society
มิติการทำงานระหว่างชุมชนและภาคประชาสังคม
ในมิติการทำงานระหว่างชุมชนและภาคประชาสังคมพบว่า นอกเหนือจากการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและเทศบาลนครเชียงใหม่ ยังไม่มีกลุ่มภาคประชาสังคมใดเข้ามาทำงานในพื้นที่ และขาดการรวบรวมองค์ความรู้ด้านคุณค่าที่หลงเหลือในชุมชน ด้วยเหตุผลนี้ทางภาคประชาสังคม คือ เขียวสวยหอม และกรีนเรนเจอร์ พร้อมทั้งคณะวิจัยจึงได้ดำเนินวางแผนการทำงานต่อเพื่อสร้างองค์ความรู้ท่องถิ่น (Local Study) ของชุมชนป่าห้าและสร้างความร่วมมือระหว่างชุมชนและภาคประชาสังคมภายใต้แนวคิด “สิ่งแวดล้อมที่คงอยู่และหายไปของชุมชนป่าห้า” และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมได้แก่ เทศบาลนครเชียงใหม่ และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมในลำดับต่อไป
Education
ชุมชนป่าห้า-นิมมาน
ชุมชนฝั่งทิศตะวันตกของถนนนิมมานเหมินท์ ที่แฝงด้วยเรื่องราวหลากมิติ ของหมู่บ้านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวด้านนิเวศวิทยาเมืองที่สำคัญ ทั้งชื่อชุมชนที่มาจากต้น “บะห้า” ลำเหมืองสายหลักที่ผันน้ำเข้าสู่คูเมืองของ “ลำเหมืองห้วยแก้ว” และ “เหมืองห้า” และ “บ่อน้ำหลวง” พื้นที่ศูนย์กลางชุมชนในอดีต ตลอดจนความเชื่อ และความทรงจำของผู้คน เช่น บ้านฝึกช่างฟ้อน การรักษาบ่อน้ำในบ้าน และการไหว้ศาลพ่อปู่จั๋น (ศาลพ่อปู่ประจำหมู่บ้าน) จุดเริ่มต้นสำคัญของการไหว้และบูชาเมือง ผ่านบทเรียนการตามหาร่องรอยของสิ่งต่างๆ ที่หลงเหลืออยู่ในพื้นที่ ภายใต้หัวข้อ “สิ่งแวดล้อม อนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ ชุมชนป่าห้า-นิมมาน” วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 สำหรับเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการ 5 ส่วนสำคัญ คือ (1) การเปิดมุมมอง (Open your eye) โดยการนั่งรถรางตามรอยเส้นทางระบบนิเวศวิทยาในอดีต ก่อนเข้าสู่พื้นที่ชุมชน (2) การเดินสำรวจ ถ่ายภาพ และบันทึกร่องรอยลงแผนที่ (Observation) ตามเส้นทางที่ชุมชนบอกเล่า (3) การฟังเสวนาเชื่อมประเด็นจากผู้เชี่ยวชาญและชุมชน (Discussion) (4) การพูดคุยระดมความคิด เพื่อคัดแยกประเด็นที่สนใจ (Brainstorming and Collecting) และ (5) การลงมือปฏิบัติ (Action) โดยใช้ศิลปะ 3 มิติ เป็นตัวเล่าเรื่อง และสะท้อนเรื่องราวที่พบเจอจากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จาก 1 Day Course ออกมาเป็นอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (Future of Learning City) ในแบบที่พวกเขาอยากบอก กลายเป็นบทเรียนจากทรัพยากรชุมชนที่มีคุณค่าและควรค่าส่งต่อจากชุมชน สู่เยาวชน และจากเยาวชนกลับสู่ชุมชน และเมืองเชียงใหม่แบบเมืองสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง (Built Environment) อย่างสร้างสรรค์