ควรค่าม้า
ผู้คนและชุมชนควรค่าม้า
ผู้คน (People) คือ สิ่งสำคัญของกลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ ผู้คนเป็นผู้สร้างสรรค์และนิยามความหมายของชุมชน หากการพัฒนาเมืองไร้ซึ่งความเข้าใจผู้คน เมืองก็จะถูกพัฒนาแค่ทางกายภาพ แต่ความเข้าใจผู้คนผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมในแต่ละกลุ่มและแต่ละยุคสมัย จะทำให้เมืองเกิดกลไกขับเคลื่อนด้วยผู้คนที่เข้มแข็ง
"ชุมชนและศิลปะ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนจากกิจกรรม กิ๋นหอมต๋อมม่วน Art Fest" จาก Talk Session 02 “ชุมขนควรค่าม้า” เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ณ ศูนย์ฟื้นบ้านย่านเวียง ชมเสวนาไลฟ์ได้ที่ https://fb.watch/91bFzlTRJg/
เครือข่ายกลุ่มทางสังคมของชุมชนควรค่าม้าสามัคคี คือ ความร่วมมือของคนอาศัยดั้งเดิม และกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มศิลปินของ Art addict studio ที่เชื่อมคนในชุมชนด้วย ศิลปะ ทั้งการเปิดสอนศิลปะแก่เยาวชนในย่าน และการสร้างกิจกรรมให้ผู้คนสูงวัยได้ออกมาแต่งตัวถ่ายรูป การจัดกาดหมั้วของกลุ่มพ่อค้าและแรงงานในย่าน ทำให้เกิดความร่วมมือผ่านความร่วมนี้ในกิจกรรมชื่อ “กิ๋นหอมต๋อมม่วน”
ข้อมูลของกลุ่มคนทางสังคมที่เป็นข้อมูลพื้นถิ่นเมืองประกอบไปด้วย
- กลุ่มชุมชนควรค่าม้าสามัคคี โดย รัตนา ชูเกษ ประธาน ชุมชนควรค่าม้า
- กลุ่มศิลปินนาม DRCAS คุณเบิร์ด คชภัค ศรีสังวาลย์ เจ้าของสตูดิผดอศิลปะ Addict Art Studio
- กลุ่มชุมขนเจ้าของบ้านดั้งเดิมในชุมชนควรค่าม้า-หม้อคำตวง โดย แม่นิด วนิดา อินทวงศ์
ภาคีเครือข่ายที่เคยมาทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน
- กลุ่มภาคประชาสังคม Spark U Lanna โดยคุณปอ ภราดล พรอำนวย
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ดร.กรวรรณ สังขกร
พื้นที่ชุมชนดั้งเดิม
ปัจจุบัน ภายในชุมชนได้มีหอพักเกิดขึ้นหลายแห่งและเกิดขอบเขตรั้วขึ้นในแต่ละบ้านเรือน ซึ่งต่างจากอดีตที่บ้านแต่ละหลังนั้นไม่มีรั้ว ทำให้ผู้คนในชุมชนสามารถไปมาหาสู่กันได้ และยังมีตรอกซอกซอยที่สามารถเดินลัดไปมาได้ภายในชุมชน ต่อมา ปี พ.ศ.2478 เชียงใหม่ได้มีการพัฒนารวมศูนย์ มีการย้ายศูนย์การปกครองเข้ามาอยู่ในเมือง ทำให้เริ่มมีการแบ่งโฉนดที่ดิน พื้นที่ชุมชนจึงเริ่มมีการแบ่งเขต และเกิดรั้วขึ้นมา โดยตอนแรกนั้นเป็นรั้วไม้ไผ่ และเมื่อที่ดินมีการเปลี่ยนมือไปเรื่อยๆ
“การขับเคลื่อนชุมชน”
ความเป็นชุมชนของชุมชนควรค่าม้านั้น คือผู้คน คือความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นภายในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นคนที่อยู่อาศัย คนที่มาเช่า หรือคนที่เข้ามาขับเคลื่อนชุมชน ต่างเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่ทำให้เกิดเป็นกลไกทางสังคมที่แข็งแกร่ง
โครงการ Spark U เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า จะเป็นไปได้ไหมที่เมืองจะสามารถเดินได้ เนื่องจากมีอุปสรรคและปัญหาต่างๆ ทั้งปัญหารถเยอะ ปัญหามลภาวะ จึงได้ค่อยๆเริ่มจากทีละชุมชน ได้มีการทดลองปิดถนนเพื่อให้สามารถเดินหรือปั่นจักรยานในชุมชน ทำให้เห็นสิ่งต่างๆ ที่โดยปกติผู้คนผ่านไปมาด้วยยานพาหนะจะไม่สังเกตเห็น และต้องมาเดินจึงสามารถสัมผัสถึงสิ่งเหล่านี้ได้ และชุมชนควรค่าม้านั้นก็มีทั้งความงดงามของบ้านเรือน งานศิลปะบนกำแพง ได้มารู้จักอาหารของชาวไทใหญ่ และเมื่อทำทุกชุมชนจนชุมชนรู้สึกคุ้นเคย ก็มีความเป็นไปได้ที่เชียงใหม่ จะเป็นเมืองแห่งการเดิน สามารถเดินได้อย่างปลอดภัย ได้มีโอกาสได้สัมผัสเนื้อหาสาระของเมือง โดยในปัจจุบันนั้นพื้นที่ชุมชนส่วนใหญ่กลายเป็นพื้นที่ประกอบการ เมืองที่เดินได้จึงเป็นการพัฒนาเมืองที่ทำให้เราได้รับรู้เมืองและกลับมาเป็นเมืองที่น่าอยู่ได้
“กิ๋นหอมตอมม่วน”
เป็นกิจกรรมของภาคประชาชนโดยความร่วมมือของชุมชนควรค่าม้าสามัคคีกับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ โดยใช้ภาพวาด street art เป็นการขับเคลื่อนชุมชนด้วยศิลปะ ผ่านแนวคิดว่าศิลปะเป็นตัวเชื่อมโยงผู้คน ในมุมมองของคนภายนอกนั้นเข้าใจว่าชุมชนควรค่าม้านั้นเป็นย่าน street art แต่เนื้อหาหลักๆนั้นเกิดจากผู้คนในชุมชน ที่พอได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว ทำให้ชุมชนมีความเกี่ยวเนื่องและเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์ภายในชุมชน โดยมีการออกแบบภาพร่วมกับคนในชุมชน ชุมชนช่วยกันทำความสะอาดผนัง ทำให้คนในชุมชนรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของผลงานภาพวาด และภาพวาดเหล่านั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน