เมืองเชียงใหม่
นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาเมือง
Urban / History
เมืองและประวัติศาสตร์เมืองช้างม่อย
People
ผู้คนและชุมชนช้างม่อย
Place
สถาปัตยกรรมพื้นที่ช้างม่อย
พื้นที่

ช้างม่อย

ผู้คนและชุมชนช้างม่อย

ผู้คน (People) คือ สิ่งสำคัญของกลไกการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ ผู้คนเป็นผู้สร้างสรรค์และนิยามความหมายของชุมชน หากการพัฒนาเมืองไร้ซึ่งความเข้าใจผู้คน เมืองก็จะถูกพัฒนาแค่ทางกายภาพ แต่ความเข้าใจผู้คนผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมในแต่ละกลุ่มและแต่ละยุคสมัย จะทำให้เมืองเกิดกลไกขับเคลื่อนด้วยผู้คนที่เข้มแข็ง

ผู้คนพื้นที่ช้างม่อย

เครือข่ายกลุ่มทางสังคมของชุมชนช้างม่อย

เนื่องจากความไม่สอดคล้องกันทางมิติทางสังคมและกายภาพของย่าน ทำให้เกิดความไม่เชื่อมโยงของกลุ่มชุมชนและกลุ่มขับเคลื่อนทางสังคมใหม่ๆ กิจกรรมจึงเป็นกลไกในการผูกเชื่อมผู้คน และทดลองสร้างกระบวรการสร้างความร่วมมือ ซึ่งในกระบวนการสร้างกิจกรรมชุมชนเชื่อมคนในชุมชนดั้งเดิมและใหม่นั้น เป็นกิจกรรมที่สร้างจากประเด็นของภาคประชาสังคมในเรื่องประเพณีห้อยตุงในเทศกาลปีใหม่เมือง และประเด็นของชุมชนวัดชมพูที่สืบทอดประเพณีคนข้าวยาคู้ในเทศกาลยี่เป็งเมือง ทำให้เกิดกลุ่มทางสังคมเมืองในย่านช้างม่อย เข้ามาสร้างการขับเคลื่อนย่านดังนี้

กลุ่มทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการขับเมืองผ่าน 2 กิจกรรมใหม่ของชุมชนคือ ตุงช้างม่อยและคนข้าวยาคู้ช้างม่อย ได้แก่

  • กลุ่มชุมชนช้างม่อย หัวหน้าชุมชน พิมลดา อินทวงศ์
  • กลุ่มศรัทธาวัดชมพู เจ้าอาวาสพิพัฒน์
  • กลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ กลุ่มช้างม่อยร่วมสมัย 16 ร้าน

ภาคประชาสังคมที่ลงพื้นที่ได้แก่

  • เครือข่ายชุมชมเมืองรักษ์เชียงใหม่ โดย เสาวคนธ์ สุคนธา
  • กลุ่มเชียงใหม่ฉันจะดูแลเธอ โดย ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา
  • กลุ่มสถาปนิกใจบ้านในโครงการ อยู่ม่วนขายหม่าน ร่วมกับฮอมสุขสถาปนิก บริเวณถนนช้างม่อยใหม่
  • กลุ่ม spark u เมืองเย็นมือเย็น เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองบริเวณริมคลองแม่ข่า

"กลไกการอยุ่ร่วมกัน จากชุมชนวัดชมพูสู่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์"

จาก Talk Session 01 “ชุมชนช้างม่อย” ผู้วิจัย ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 ณ เจดีย์หนองล่ม ชมไลฟ์ที่นี่ > https://fb.watch/85z_JJIM2u/

"พื้นที่เมืองและกลุ่มคนในย่าน"

ภูมิทัศน์ของชุมชนเดิม สมัยคุณลดาจำความได้ พ.ศ.2504 ช้างม่อยคือชุมชนที่มีละแวกบ้านอุปถัมภ์วัดชมพู หมู่บ้านไม้ตามถนนช้างม่อยเก่าและสิทธิวงศ์ กระทั่งช้างม่อยเริ่มพัฒนากลายเป็นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและพักผ่อน ทำให้เกิดธุรกิจต่างๆในย่าน ตะก่อนคนช้างม่อยช่วยกันดูแลย่าน ไม่ว่าจะคนอยู่หรือคนขาย ต่างเกื้อกูลกัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนกันในช่วงปีพ.ศ. 2514-2538 จากนั้น อ.จิรันธนิน พูดถึงการพัฒนาเมืองในย่านช้างม่อย-สิทธิวงศ์นี้ เน้นการขนส่งและพัฒนาเมืองสมัยใหม่ ทำให้เครือข่ายชุมชนเดิมถูกล้อมด้วยถนนใหม่ที่เป็นถนนเพื่อรถสัญจร ทำให้ย่านนี้เริ่มถูกทำให้มีลักษณะปิดมืด ทำให้เป็นทางผ่านเมือง คุณกันต์กวี เทศบาลนครเชียงใหม่กล่าวเสริมว่า การสร้างความร่วมมือระหว่างคนเก่าและคนรุ่นใหม่คือสิ่งสำคัญ ซึ่งเทศบาลอยากจะเป็นประตูเชื่อม อ.จิรันธนินเสริมว่า การสร้างความสัมพันธ์ของคนในย่าน จะเกิดจากการยกระดับความสัมพันธ์บนภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม

"ภูมิทัศน์เมืองและการรับรู้ย่านของผู้คน"

คุณวิน ผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม east each ในฐานะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตในย่าน เจ้าของร้าน mitte mitte เล่าให้ฟังว่า ปัญหาของผู้ประกอบการในย่านนี้คือ การบอกเส้นทาง เพราะถนนภายในย่านชุมชนนี้ อาทิ ถนนช้างม่อยเก่า ถนนสิทธิวงศ์ ถนนชัยภูมิซอย 1-4 อีกทั้งความทรงจำของคนในย่านก็แตกต่างกันตามยุคสมัย จึงทำให้เรียกถนนและตำแหน่งต่างๆ ตามความทรงจำของตัวเอง จึงอยากจะสร้างป้ายบอกทาง เพื่อทำให้เกิดความเชื่อมโยงของย่าน อ.จิรันธนิน เสริมถึงการเปลี่ยนย้ายของผู้คนในแต่ละช่วงเวลา สัมพันธ์กับการพัฒนาเมืองอย่างยิ่ง ดังนั้นการเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของย่าน ผ่านพื้นที่เมืองที่ปรากฏรองร่อยของกลุ่มทางสังคมในอดีต-ปัจจุบัน

"ความร่วมมือระหว่างคนเก่าและใหม่ในย่าน"

คุณเวฟ และทาง TCDC Chiang Mai ได้ทำโครงการ “เมด อิน ช้างม่อย” เป็นการนำเอาผู้ประกอบการทำงานกับนักออกแบบ ที่ต้องปรับตัวเองไปกับการท่องเที่ยวใหม่แบบ hopping, Digital disruption และ COVID-19 pandemic คุณลดากล่าวเสริมว่า คนรุ่นใหม่ เป็นตัวละครสำคัญในการขับเคลื่อนชุมชน อ.จิรันธนินปิดท้าย ช้างม่อยไม่ใช่ย่านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่มีต้นทุนทางวัฒนธรรมทั้ง มิติเมืองประวัติศาสตร์ มิติสังคมและวัฒนธรรมเดิม รวมไปถึงมิติการค้าและเศรษฐกิจร่วมสมัย