เมืองเชียงใหม่
นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาเมือง
Urban / History
เมืองและประวัติศาสตร์เมืองป่าห้านิมมาน
People
ผู้คนและชุมชนป่าห้านิมมาน
Place
สถาปัตยกรรมพื้นที่ป่าห้านิมมาน
พื้นที่

ป่าห้านิมมาน

สถาปัตยกรรมพื้นที่ป่าห้านิมมาน

Place (สถานที่) คือ องค์ประกอบของเมืองแห่งการเรียนรู้สำคัญ เป็นพื้นที่ที่มีความหมายทั้งทางสังคม และประโยชน์ใช้สอยร่วมกันของคนในชุมชน สถานที่ทำให้เมืองยังคงมีพื้นที่ที่ชีวิตและกลายเป็นองค์ประกอบชุมชนที่สำคัญ

สถาปัตยกรรมพื้นที่ป่าห้านิมมาน

องค์ประกอบเมืองเฉพาะตัวของความเป็นพื้นถิ่นเมืองในย่านป่าห้านิมมานนี้ สะท้อนองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมประกอบสร้างของชุมชนดั้งเดิมเพื่อให้เมืองกลายเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ที่มีความหมายในฐานะพื้นที่สาธารณะประโยชน์ของชุมชน

สิ่งแวดล้อมสร้างของชุมชนดั้งเดิม โครงสร้างของชุมชนป้าห้าดั้งเดิมคือการวางตัวของกลุ่มบ้านไปกับระบบสาธารณูปโภค และพื้นที่กิจกรรมทางสังคมและความเชื่อดั้งเดิม เป็นพื้นที่ที่รวบรวมจากการสัมภาษณ์เพื่อนำความทรงจำของย่านมาเล่าผ่านภูมิทัศน์เมืองที่ยังคงหลงเหลืออยู่ ได้แก่

องค์ประกอบเมืองสำคัญ – ภูมิทัศน์ลำเหมืองชุมชน และพื้นที่ของชุมชน

ลำเหมืองชุมชนเป็นการจัดการน้ำของระบบเกษตรกรรมชุมชนในอดีตที่ใช้ความลาดชันของเมือง จากดอยสุเทพสู่แม่น้ำปิง ทำให้เกิดทางห้วยเดิมที่เป็นภมิทัศน์สำคัญ ก่อนการทำคลองชลประทานและถนนเลียบคลองชลประทาน โดยหมู่บ้านป่าห้าเดิมจึงวางตัวชุมชนไปกับทางน้ำห้วยที่เชื่อมกับลำน้ำห้วยแก้วนี้ โดยมีภูมิทัศน์เป็นต้นห้า ปลูกขนานไปกับชุมชนเดิม ทำให้พื้นที่เพื่อสาธารณะประโยชน์ริมห้วยของชุมชนหายไป

ลำเหมืองชุมชนกับที่ทำการชุมชนป่าห้า

ที่ตั้งชุมชนป่าห้านิมมาน เลียบไปกับทางลำห้วยลำเหมืองของชุมชนเกษตรกรรมในอดีต การพัฒนาพื้นที่นี้จึงเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่ต้นแบบชุมชนริมห้วย ทั้งห้วยหนองที่เชื่อมไปกับห้วยแก้วและลำเหมืองห้าเพื่อที่สาธารณูปโภคของชุมชนในอดีต แต่ในปัจจุบันถูกละทิ้งให้เป็นลำน้ำและพื้นที่สาธารณะเมืองที่ขาดการดูแล จนทำให้ปัจจุบันพื้นที่ริมน้ำถูกรุกล้ำหรือถูกปิดกั้นการเข้าถึงลำห้วย ที่ทำการชุมชนป่าห้านี้ จะเป็นการสร้างพื้นที่ตัวอย่างเพื่อการขับเคลื่อนชุมชนร่วมกับภูมิทัศน์สำคัญของเมือง

ศาลพ่อปู่ชุมชนป่าห้า

เป็นศาลที่เกิดขึ้นจากความเชื่อและศรัทธาของชุมชนป่าห้า เป็นศาลที่ตั้งอยู่บนพื้นที่หัวมุมถนนใต้ต้นมะขาม จากความอนุเคราะห์ของเจ้าของบ้านใกล้เคียง มีการทำบุญในรอบปีผ่านเทศกาลปีใหม่เมือง ที่คนในชุมชนไหว้บรรพบุรุษ และกลายเป็นตำแหน่งทางเข้าชุมชนป่าห้าตากถนนห้วยแก้ว ที่ทำให้คนในชุมชนเชื่อมโยงและรับรู้ถึงความเป็นชุมชนร่วมกัน

บ่อน้ำหลวงชุมชนป่าห้า

บ่อน้ำหลวงเป็นการสะท้อนระบบสาธารณูปโภคชุมชน ที่เห็นได้ว่าพื้นที่ชุมชนถูกใช้ร่วมกันผ่านระบบน้ำ การมีบ่อน้ำเพื่อแบ่งปันน้ำใช้ของกลุ่มบ้าน ทำให้เกิดละแวกบ้านที่เป็นจุดเริ่มต้นของความเป็นชุมชน พื้นที่บริเวณนี้ทำให้เห็นว่าการพัฒนาถนนเพื่อการสัญจรไม่ได้พัฒนาร่วมกันกับภูมิทัศน์เมืองเดิมในอดีตพื้นที่บ่อน้ำหลวงนี้จึงควรถูกบูรณะให้กลายเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการใช้ในงานในปัจจุบันและยังสื่อถึงเรื่องเล่าชุมชนในอดีตด้วย