เมืองเชียงใหม่
นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาเมือง
Urban / History
เมืองและประวัติศาสตร์เมืองควรค่าม้า
People
ผู้คนและชุมชนควรค่าม้า
Place
สถาปัตยกรรมพื้นที่ควรค่าม้า
พื้นที่

ควรค่าม้า

การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม


Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ


เมืองเก่าเชียงใหม่ #ChiangMaiOldCity เมืองแห่งวัฒนธรรม ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาที่มีอายุยาวนานถึง 725 ปี ในฐานะของเมืองที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมือง

พื้นที่

ควรค่าม้า

การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม


Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ


เมืองเก่าเชียงใหม่ #ChiangMaiOldCity เมืองแห่งวัฒนธรรม ศูนย์กลางอาณาจักรล้านนาที่มีอายุยาวนานถึง 725 ปี ในฐานะของเมืองที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของเมือง

25
16
2516 – 2527

พรบ.ผังเมือง และการกำหนดเขตคูเมืองให้มีการใข้ประโยชน์ของที่ดินเฉพาะ ทำให้ชุมชนและคนเมืองต้องปรับรูปแบบการใช้ชีวิตให้เป็นเมืองที่มีมิติของประวัติศาสตร์์มากขึ้น

25
39
2539 – 2555

การย้ายศูนย์การปกครองเมืองเชียงใหม่ไปยังนอกเขตเทศบาล การท่องเที่ยวเมืองถูกส่งเสริมอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวมากมายทั่วพื้นที่เมืองเก่า

24
78
2478

กำแพงเมืองและคุเมืองได้ถูกขึ้นทะเบียนโบราณแห่งชาติ และได้พัฒนาเมืองให้กลับมาตามแนวคิดของผังเมืองเดิมคือ การให้ความสำคัญของประตูเมือง 5 ประตู และแจ่งเมืองทั้ง 4 แจ่ง(หัวมุม) และจัดตั้งสาธารณณูปโภคและจัดการองค์กรการปกครองต่างๆ ภายในคูเมือง

24
91
2491

การพัฒนาเมืองอันรวดเร็วทำให้เกิดการแบ่งจัดสรรพื้นที่เพื่อการพักอาศัยและพาณิชย์ในเขตเมือง และการตัดถนนใหม่เพื่อการสัญจร

25
16
2516 – 2527

พรบ.ผังเมือง และการกำหนดเขตคูเมืองให้มีการใข้ประโยชน์ของที่ดินเฉพาะ ทำให้ชุมชนและคนเมืองต้องปรับรูปแบบการใช้ชีวิตให้เป็นเมืองที่มีมิติของประวัติศาสตร์์มากขึ้น

25
28
2528

เมืองเชียงใหม่กลายเป็นพื้นที่เมืองสมัยใหม่ที่มีถนนเชื่องโยงตลาด โรงเรียน ท่ารถ ที่ทำให้เมืองเก่ากลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของเมือง

25
39
2539 – 2555

การย้ายศูนย์การปกครองเมืองเชียงใหม่ไปยังนอกเขตเทศบาล การท่องเที่ยวเมืองถูกส่งเสริมอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดโรงแรมและธุรกิจท่องเที่ยวมากมายทั่วพื้นที่เมืองเก่า

25
56
2556

เทศบัญญัติใหม่ของเมืองเชียงใหม่ ที่ควบคุมและจัดการการออกแบบอาคาร ขนาดของกิจกรรม รูปแบบอาคารครั้งใหม่ รวมไปถึงกลุ่มผู้คนใหม่ๆ ทั้งในและนอกจังหวัดที่ย้ายเข้ามาทำธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจสร้างสรรค์ภายใต้ข้อจำกัดของเทศบัญญัติในเมือง

25
64
2564

ความน่าสนใจของการรักษาคุณค่าเมืองเก่า ยกระดับวิถีชีวิตที่ร่วมสมัยในเมืองจะถูกสร้างเป็นเมืองที่ร่วมสมัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

Urban Vernacular

ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี

กลุ่มชุมชนที่ก่อตั้งขึ้นมาในพ.ศ. 2542 เพื่อขับเคลื่อนชุมชนระหว่างคนอยู่เดิมและคนพำนักใหม่ ซึ่งเน้นไปที่การพัฒนากิจกรรมชุมชนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่เศรษฐกิจที่หลากหลาย อาทิ กิจกรรม “วาดภาพผนังและสวนครัวริมทาง” ที่ประธานชุมชนควรค่าม้า ร่วมกับผู้ประกอบการที่พักในพื้นที่ และกลุ่มศิลปินที่วาดภาพ Street art นำโดย Addict art studio และเครือข่าย เขียว สวย หอม ร่วมมือกันขอความร่วมมือสร้างภูมิทัศน์ชุมชนใหม่ ให้เกิดชีวิตชีวาและเล่าเรื่องเมืองผ่านตัวศิลปิน นอกจากนี้ยังมีการปลูกพืชทานได้ตามแนวทางเดินชุมชนด้วย ซึ่งจากกิจกรรมนี้ทำให้เกิด ตลาดนัดของชุมชนในช่วงสิ้นปีที่เรียกว่า “กิ๋นหอมต๋อมม่วน” ที่คนในชุมชนจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็ง และเปิดบ้าน จัดถนนคนเดิน

Civil Society

ชุมชนควรค่าม้าสามัคคีชุมชนที่มีความหลากหลายร่วมอาศัยและร่วมทำกิจกรรม

โครงการย่อย 1 ได้ดำเนินการในการแลกเปลี่ยนเชิงลึกร่วมกับตัวแทนและกลุ่มประชาสังคมทั้งในระดับเมืองและระดับพื้นที่ชุมชนควรค่าม้า จากนั้นได้ดำเนินการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจและเรียนรู้ทรัพยากรในชุมชน และนำมาออกแบบกิจกรรมร่วมกับคณะวิจัยในรูปแบบการเรียนรู้คุณค่าชุมชน โดยสามารถสรุปกิจกรรม ดังนี้ 1) เกิดความร่วมมือจากภาคประชาสังคมในเมืองเชียงใหม่ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอแนวคิดและวิธีการปฏิบัติ 2) เกิดการมีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดและชี้โอกาสในการออกแบบพื้นที่เรียนรู้ของเมืองเชียงใหม่ โดยให้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และ 3) เกิดเครื่องมือเพื่อใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กและเยาวชน โดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางและความร่วมมือของภาคประชาสังคม เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชน

Education

ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี

ชุมชนที่แฝงด้วยเรื่องราวหลากมิติ ทั้งประตูเมืองฝั่งทิศเหนือ (ประตูช้างเผือก) แจ่งหัวรินกับระบบชลประทานที่ทันสมัย ตำนานวัดหัวข่วง 4 แห่ง โดยเฉพาะวัดหม้อคำตวง (หมื่นคำตวง) และวัดควรค่าม้า วัฒนธรรมบ้านเก๊ากับคนล้านนา ไปจนถึงการเข้ามาของชาวชาติพันธุ์ และการฟื้นฟูชุมชนโดยใช้ศิลปะ เป็นทรัพยากรแห่งการเรียนรู้ในเมืองเก่า ผ่านบทเรียนการตามหาร่องรอยของสิ่งต่างๆ ที่ซ่อนอยู่ใน 5 ฐาน ในหัวข้อ “ประวัติศาสตร์ ตำนาน เรื่องเล่า ชุมชนควรค่าม้าสามัคคี” วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ.2564 สำหรับเยาวชนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมผ่านกระบวนการ 5 ส่วนสำคัญ คือ (1) การเปิดมุมมอง (Open your eye) โดยการนั่งรถรางของชมรมเขียว ชม เมือง นำทางตามรอยเส้นทางประวัติศาสตร์ที่กำหนดขึ้นแบบกระชับๆ ช้าๆ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ชุมชน (2) การเดินสำรวจ ถ่ายภาพ ทำการบันทึกตามร่องรอยลงแผนที่ และคัดแยกข้อมูลจากการสัมภาษณ์ข้อมูลในแต่ละฐานที่ได้รับมา (Observation and Collection) โดยการเดินไปตามเส้นทางที่ชุมชนบอกเล่า และแวะตรงตำแหน่งฐานต่าง ๆ (3) การพูดคุยระดมความคิดภายในกลุ่มตนเอง (Brainstorming) (4) การฟังเสวนาสรุปประเด็นจากผู้เชี่ยวชาญและชุมชน (Discussion) และ (5) การลงมือปฏิบัติ (Action) โดยใช้ศิลปะ 2 มิติ ไปจนถึงนูนต่ำ และนูนสูงเป็นตัวเล่าเรื่อง และสะท้อนเรื่องราวที่พบเจอและอยากเล่าจากบทเรียนที่ได้เรียนรู้จาก 1 Day Course ส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น สะท้อนออกมาเป็นอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (Future of Learning City) ที่แข็งแรงและยั่งยืนในแบบชุมชนควรค่าม้าสามัคคีจากทรัพยากรชุมชนและความเป็นเมืองเชียงใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวมากกว่า 700 ปี