เมืองเชียงใหม่
นครแห่งการเรียนรู้
เพื่อพัฒนาเมือง
Urban / History
เมืองและประวัติศาสตร์เมืองช้างม่อย
People
ผู้คนและชุมชนช้างม่อย
Place
สถาปัตยกรรมพื้นที่ช้างม่อย
พื้นที่

ช้างม่อย

การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม


Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ


ย่านช้างม่อย เป็นชุมชนดั้งเดิมบนถนนช้างม่อยเก่า ตั้งขนานไปกับแนวกำแพงดิน คลองแม่ข่า ที่มีลักษณะเป็นชุมชนหัววัด มีวัดโบราณทั้งวัดชมพู และวัดอู่ทรายคำ ที่เชื่อมโยงวัดและชุมชนช่างฝีมือ ทั้งช่างตีเหล็ก ช่างทำงานไม้ช่างก่อสร้าง งานหัตถศิลป์ ที่เชื่อมโยงกับการค้าที่รุ่งเรืองฝั่งริมแม่น้ำปิง

พื้นที่

ช้างม่อย

การเรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นเมือง
ผ่านผู้คนและชุมชนทางสังคม


Memory (ความทรงจำ) คือ เรื่องราวที่ร้อยเรียงทั้งจากวรรณกรรมที่ได้มาจากการเรียนรู้ท้องถิ่น (Local study) ทั้งภูมิหลังการพัฒนาเมือง (Urban development) ข้อมูลการเปลี่ยนย้ายของผู้คน (Urban gentrification) ประกอบร่วมกับเรื่องเล่า ความทรงจำ และประสบการณ์ของคนในพื้นที่ ทำให้เรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่จะสะท้อนความเป็นมาของเมือง และแนวทางการพัฒนาต่อไปของชุมชนนั้นๆ


ย่านช้างม่อย เป็นชุมชนดั้งเดิมบนถนนช้างม่อยเก่า ตั้งขนานไปกับแนวกำแพงดิน คลองแม่ข่า ที่มีลักษณะเป็นชุมชนหัววัด มีวัดโบราณทั้งวัดชมพู และวัดอู่ทรายคำ ที่เชื่อมโยงวัดและชุมชนช่างฝีมือ ทั้งช่างตีเหล็ก ช่างทำงานไม้ช่างก่อสร้าง งานหัตถศิลป์ ที่เชื่อมโยงกับการค้าที่รุ่งเรืองฝั่งริมแม่น้ำปิง

25
37
2537 - 2544

ช้างม่อยถูกทำให้เป็นทางผ่านเพื่อการขนส่งไปกาดหลวง และเดินทางออกเมืองจากเมืองเก่าไปฝั่งริมน้ำปิงแทน ทำให้เกิดพื้นที่อับและซอกเมืองที่กลายเป็นที่ตั้งของเก้สท์เฮ้าส์ราคาถูกของนักท่องเที่ยว จากอิทธิพลของไนท์บาร์ซาร์และถนนลอยเคราะห์

25
45
2545 - 2558

ยุคสมัยที่ศูนย์กลางการค้าของเมืองได้ถูกย้ายไปยังพื้นที่เมืองส่วนอื่นตามแนววงแหวนงงเมืองรอบที่ 1, 2 และ 3 ทำให้เกิดความซบเซา ร้านค้าและตึกแถวกลายเป็นโกดัง และปล่อยเช่าร้านขายส่งเป็นหลัก จึงทำให้ค่าเช่าร้านราคาตกต่ำลง มีพื้นที่รกร้างเกิดสตรีทอาร์ตเกิดในพื้นที่ปล่อยเช่าต่างๆ

24
75
2475

เกิดการจัดการระบบการปกครอง ทำให้เกิดชุมชนเมืองและการตั้งที่พักอาศัยใหม่ ทั้งแนวถนนช้างม่อยเก่าและถนนท่าแพ

25
04
2504

แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่ทำให้การเร่งเร้าทางการพัฒนา ทำให้เกิดระบบถนนใหม่ ทำให้เกิดตึกแถวสมัยใหม่กระจายไปในย่านกาดหลวง

25
09
2509 - 2536

ช้างม่อย-ราชวงศ์ เป็นย่านพาณิชย์สำคัญจนกระทั่งยุคสมัยที่เศรษฐกิจเมืองได้ย้ายไปในพื้นที่รอบวงแหวนรอบที่ 1

25
37
2537 - 2544

ช้างม่อยถูกทำให้เป็นทางผ่านเพื่อการขนส่งไปกาดหลวง และเดินทางออกเมืองจากเมืองเก่าไปฝั่งริมน้ำปิงแทน ทำให้เกิดพื้นที่อับและซอกเมืองที่กลายเป็นที่ตั้งของเก้สท์เฮ้าส์ราคาถูกของนักท่องเที่ยว จากอิทธิพลของไนท์บาร์ซาร์และถนนลอยเคราะห์

25
45
2545 - 2558

ยุคสมัยที่ศูนย์กลางการค้าของเมืองได้ถูกย้ายไปยังพื้นที่เมืองส่วนอื่นตามแนววงแหวนงงเมืองรอบที่ 1, 2 และ 3 ทำให้เกิดความซบเซา ร้านค้าและตึกแถวกลายเป็นโกดัง และปล่อยเช่าร้านขายส่งเป็นหลัก จึงทำให้ค่าเช่าร้านราคาตกต่ำลง มีพื้นที่รกร้างเกิดสตรีทอาร์ตเกิดในพื้นที่ปล่อยเช่าต่างๆ

25
59
2559 - ปัจจุบัน

การเปลี่ยนแปลงของการเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการท่องเที่ยวเมืองรูปแบบใหม่ ความน่าสนใจของการเกิดใหม่ของย่านนี้ คือ การปรับปรุงอาคารเก่าให้ยังคงเสน่ห์ของอาคารตึกแถวสมัยใหม่ สร้างธูรกิจสำหรับผู้คนใหม่ตามยุคสมัย อาทิ คาเฟ่ ร้านกาแฟ แกลอรี่ ร้านอาหารญี่ปุ่น ส่วนหนึ่งผู้ประกอบการสร้างสรรค์เหล่านี้เห็นถึงศักยภาพของย่าน และอีกส่วนหนึ่งคือผู้ประกอบการใหม่และทายาทของคนรุ่นเก่า ผลักดันพื้นที่ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ทำให้เกิดร้านค้าใหม่บนอาคารเก่ามากมาย

Civil Society

สรุปกิจกรรมชุมชนช้างม่อย

โครงการย่อย 1 ได้จัดทำ Installation Art เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตีความใหม่ของพื้นที่และสร้างกิจกรรมที่ให้คนในชุมชนและเด็ก ๆ เข้ามามีส่วนร่วม โดยร่วมมือกับศิลปินในการออกแบบและจัดทำ พร้อมกับประสานงานร่วมกับเครือข่ายเขียวชมเมือง และเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ในการเชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างพื้นที่ในเมืองเก่าเชียงใหม่ และชุมชนช้างม่อยในช่วงเทศกาลยี่เป็งเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายภาคประชาสังคมและได้รับความสนใจจากประชาชนที่เข้ามาร่วมงานในการเดินทางสู่ชุมชนช้างม่อยและเกิดการเรียนรู้ในประเพณีดั้งเดิมของเมืองเชียงใหม่ โดยโครงการย่อยหนึ่งวางแผนดำเนินการจัดประชุมร่วมกับชุมชน ผู้ประกอบการ และผู้อยู่อาศัยบนถนนช้างม่อยเก่า และช้างม่อยใหม่ เพื่อร่วมกันหาเป้าหมายร่วมกันในการเชื่อมกิจกรรมของถนนทั้ง 2 เส้น เป็นลำดับต่อไป

Education

ชุมชนช้างม่อย

ชุมชนย่านการค้าสำคัญในอดีต สู่การพัฒนากิจกรรมใหม่ ๆ ที่แฝงด้วยเรื่องราวหลากมิติ ผ่านประเพณีการคนข้าวยาคู้ ในช่วงเทศกาลยี่เป็ง (ลอยกระทง) ณ วัดชมพู เป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่จุดประกายและนำมาซึ่งกิจกรรมการเรียนรู้ของเยาวชนในเมืองเชียงใหม่ที่สำคัญอีกพื้นที่หนึ่ง ที่อยากจะบอกเล่าเรื่องราวอันมีเสน่ห์ของชุมชนแห่งนี้ ให้ผู้คนได้รับรู้ และเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กัน ภายใต้การถอดบทเรียนหัวข้อ “เศรษฐกิจ I สร้างสรรค์ I ชุมชนช้างม่อย” วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 สำหรับเยาวชนระดับชั้นอุดมศึกษาหลากหลายสาขาในเมืองเชียงใหม่อย่างมีส่วนร่วม ผ่านกระบวนการ 5 ส่วนสำคัญ คือ (1) การเปิดมอง (Open your eye) โดยผู้เชี่ยวชาญจากการลงพื้นที่ชุมชนช้างม่อยแบบกระชับๆ (2) การพูดคุยระดมความคิดภายในกลุ่มตนเอง (Brainstorming) เพื่อวางเรื่องราวที่จะเก็บข้อมูลทำงาน (3) การเดินสำรวจ ถ่ายภาพ สัมภาษณ์ชุมชน และทำการบันทึกลงโทรศัพท์มือถือในรูปแบบ Clip VDO (Observation) (4) คัดแยกข้อมูลที่ได้รับมา (Collection) โดยการเดินไปตามเส้นทางที่ชุมชนบอกเล่า และแวะตรงตำแหน่งสำคัญ ๆ และ (5) การลงมือปฏิบัติ (Action) เพื่อตัดต่อ Clip VDO สั้น ๆ นำเสนอในศิลปะรูปแบบ Digital Art ที่พบเจอภายใน 1 วัน (1 Day Course) ตีความและสื่อสารถึงความหมายของ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนช้างม่อยร่วมกับการสัมผัสกิจกรรมประเพณรคนข้าวยาคู้ที่เกิดขึ้นผ่านไปมาในสายตาของพวกเขา สะท้อนออกมาเป็นเรื่องราวอนาคตเมืองแห่งการเรียนรู้ (Future of Learning City) ที่แข็งแรงและยั่งยืนในแบบชุมชนช้างม่อยจากทรัพยากรชุมชนและความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ การปฏิสัมพันธ์ของผู้คน การค้าเก่า-ใหม่ ที่ไม่ได้เลือนหายไปและแฝงอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน